คุณชอบปลาอะไรที่สุด
what fish do u like?

Crown fish
Butterfly fish
Angel fish
Anthias
Mandarin
Trigger
Lion fish
Etc



ผลการ Vote
Power by Thaimisc.com

 
2. ป้องกันการลุกลามของโรดนื้โดยวิธีง่าย ๆ คือเมื่อปลาเป็นโรดดวร ย้ายปลาออกจากตู้แล้วนำไปรักษาในทื่อื่น ใส่ฟอร์มาลิน 100-150 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ลงในตู้เดิมเพื่อกำจัดปรสิตให้หมด แลัวจึงถ่ายน้ำทิ้งไป
โรคที่เกิดกับปลาทะเล

    ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบบ่อยสำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาทะเลคือการเกิดโรคกับปลาของเรา ทำให้เป็นปัญหา
ต่างๆตามมาและอาจเกิดการติดปลาอื่นๆในตู้ด้วย ดังนั้นเราจึงควรที่จะรู้จักและมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่
ี่เกิดกับปลาทะเล เพื่อที่เราจะได้เข้าใจและสามารถป้องกัน รักษาโรคเหล่านั้นได้ เพื่อปลาของเราจะได้
้มีสุขภาพที่ดีและมีความสุขกับเราไปนานๆ

สำหรับโรคของปลาทะเลนั้น จริงๆแล้วมีอยู่ด้วยกันมากมาย แต่ ณ ที่นี้จะรวบรวมเฉพาะโรคที่พบบ่อยๆ

โรคจุดขาว
      ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็ก ๆ กระจาย
อยู่ทั่วลำตัวและครีบ ซึ่งสาเหตุของโรคนี้คือโปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิว
หนังเป็น อาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณ
ก้นตู้ปลา และ สร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อน
จำนวนมากภายในเกราะ นั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกราะหุ้ม
ตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของ พยาธิจะว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลา
ต่อไป พบโรคนี้กับปลาหลายชนิด

การปัองกันและรักษา
ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่แต่วิธีการที่ควรทำคือการทำลายตัวอ่อน
ในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมี ดังต่อไปนี้
1. ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชม. สำหรบ ปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50
    ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม.
2. หรือมาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1/2 บม. สำหรับปลาขนาดใหญ
่     หรือ 0.15 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม. หรือ เมททิลีนบลู 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3. หรือมาลาไค้ทกรีน และฟอร์มาลินในอัตราส่วน 0.15 กรัม และ 2์5 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม.
     แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยน น้ำใหม่ทุกวันและทำการแช่ยาวันเว้นวัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น
วิธีนี้จะให้ ผลดีมากโดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปรสิต
ชนิดนี้ ีขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ดังนั้นวิธีการป้องกันเป็นวิธีที่ดื่ที่สุด เพื่อไม่ให้ปลาที่นำมาเลี้ยงติดเชื้อมาด้วย
ควรดำเนินการดัง
ี้
1. ก่อนที่จะนำปลามาเลี้ยง ควรนำมาขังไว้ในที่กักกันก่อน ประมาณ 7-10 วัน เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อ
    พยาธิติดมาหรือเปล่า เมื่อแน่ใจว่าไม่เป็นโรดแล้วจึง นำไปเลี้ยงต่อ

2. ป้องกันการลุกลามของโรดนื้โดยวิธีง่าย ๆ คือเมื่อปลาเป็นโรดดวร ย้ายปลาออกจากตู้แล้วนำไป
    รักษาในทื่อื่น ใส่ฟอร์มาลิน 100-150 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ลงในตู้เดิมเพื่อกำจัดปรสิตให้หมด แลัวจึง
    ถ่ายน้ำทิ้งไป

โรคออดิเนียม
        ปลาที่เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำทุรนทุราย บางครั้งพบว่ากระพุ้งแก้มเปิดอ้า
มากกว่าปกดิอาจมีแผลตกเลือดหรือรอยด่างสีน้ำตาลหรือเหลืองคล้าย
สีสนิมตามลำตัว ครีบตกหรือลู่ลง ปลาจะทยอยตายติดต่อกันทุกวัน
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่าง ถูกต้องปลาจะตายหมดตู้ โรคนี้พบเกิดมาก
ในลูกปลาขนาดเล็ก

การปัองกันและรักษา
1. แช่ปลาที่เป็นโรคนี้ด้วยฟอร์มาลิน จำนวน 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม. แลัวเปลี่ยนน้ำใหม่
    ถ้าปลายังมีอาmรไม่ดีขื้นควรเปลื่ยนน้ำแล้วให้ยา ซ้ำอีก ปลาที่ป่วยควรจะมีอาการดีขี้นภายใน 3-4 วันใน
    ระหว่างการใช้ยาถ้ามี ปลาตายควรตักออกจากตู้ให้หมด
2. ใช้เกลือเม็ดจำนวน 5-10 กีโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชม. ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและขนาดของปลา
    ถ้าปลาขนาดเล็กควรใช้เกลือน้อยกว่าปลาขนาด ใหญ่ (ก่อนใช้โปรดอ่านข้อควรระวังในการใช้เกลือ)


โรคแผลตามลำตัว
      เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ในระยะเริ่มแรกจะทำให้ปลาที่มีเกล็ดเกล็ด หลุดออก ส่วนบริเวณรอบ ๆ
เกล็ดที่หลุดออกนั้นจะตั้งขึ้น ถ้าเป็นปลาไม่มีเกล็ด บริเวณนั้นจะบวมขึ้นเละมีสีแดง ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเปื่อย
เป็นแผลลึกลงไปจนเห็น กล้ามเนื้อ โดยแผลที่เกิดจะกระจายทั่วตัวและเป็นสาเหตุให้ปลาติดโรคเชื้อราต่อ ไปได้

การปัองกันและรักษา
โรดนี้รักษาได้ยากมาก ในกรณีปลาตู้ควรแยกปลาที่เป็นโรคออกจากตู้ให้หมด
1. ใชัยาปฎิชีวนะจำพวกในโตรฟูราโชน ในอัตราส่วน 1 -2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าชัยคลีน หรือเตตร้าชัยคลีน ในอัตราส่วน 10- 20 มิลลิกรัมต่อน้ำ
    1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3 -4 ครั้ง
3. ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อ และเริ่มมีอาการของโรค อาจผสมยาปฎิชีวนะ เหมือนดังกล่าวข้างต้นกับอาหาร
    ในอัตราส่วน 60- 70 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้นานติดต่อกัน 3-5 วัน
4. การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง อาจทำได้โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 50-60 กิโลกรัม/ไร่


โรคเปื่อย
       ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามลำตัว และถ้าเกิดโรคเป็นระยะเวลานาน แผลด่างขาวนี้
จะกลายเป็นแผลลึกได้ โรคนี้มักเกิดกับปลาหลังจากการลำเลียง หรือขนส่งเพื่อนำไปเลี้ยงหรือในช่วง
ี่อุณหภูมิของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงจาก สูงไปต่ำ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนี้จะเจริญได้ดีและทำ
อันตรายต่อปลา ปลาที่ ติดโรคนี้จะตายเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว

การป้องกันและรักษา
วิธีที่ดีที่สุดที่ควรทำคือการปรับปรุงสภาพภายในบ่อ หรือที่เลี้ยงปลาให้ มีสภาพเหมาะสม เช่น
การเพิ่มออกซิเจน การลดอินทรีย์สารในน้ำใหันัอยลง และ การเพิ่มอุณหภูมิของน้ำ
1. แช่ปลาในยาเหลืองในอัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 5 ลิตร นานประมาณ 30 นาที
2. ในขณะขนส่งลำเลียงปลา ควรใส่เกลือเม็ดลงในน้ำที่ใช้สำหรับการ ขนปลาในปริมาณ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้เท่ากับน้ำในตู้ก่อน
4. ใช้ด่างทับทิม จำนวน 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง เพื่อการรักษา
5. ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 40-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง


โรคครีบ-หางกร่อน
       เป็นโรดที่พบกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาขนาดเล็ก เป็นโรค โดยจะเกิดตามบริเวณปลาย
ครีบก่อนและค่อย ๆ ลามเข้าไปจนทำให้ดูเหมือนว่า ครีบมีขนาดเล็กลง ในบางครั้งครีบจะกร่อนไปจนหมด

การปัองกันและรักษา
1. ใชัยาปฎิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโชน ในอัตราส่วน 1 -2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2. การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง อาจทำได้โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 50-60 กิโลกรัม/ใร

โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
     อาการของโรคนี้คือ ปลาจะมีแผลเปิดสีแดงเป็นจ้ำ ๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะ ที่ครีบและซอกเกล็ด มักพบในปลา
มีเกล็ดเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นเผลเรื้อรังอาจมี อาการเกล็ดหลุดตามมาด้วยบริเวณรอบ ๆ และด้านบนของแผล
จะมีส่วนที่คล้าย สำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่ โรคนี้เกิดจากเชื้อปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือกระจุก

การปัองกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.
2. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม. หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลายังมีอาการไม่ดี
    ขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วันก่อน จากนั้นใส่ยาซ้ำได้อีก 1- 2 ครั้ง ถ้ารักษาถูกโรคปลาควรจะมีอาการดีขึ้น
    ภายใน 2 - 3 วัน หลังจากการรักษา


โรคจากเชื้อรา
     โดยทั่วไปโรคทื่เกิดจากเชื้อรามักจะเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ หลังจากที่ปลา
เกิดเป็นแผลแบบเรื้อรังแล้วมักพบเชื้อราเข้ามาร่วมทำให้แผลลุกลามไป โดยจะเห็น
บริเวณแผลมีเชื้อราเกิดเป็นปุยขาวๆ ปนเทาคล้ายสำลีปกคลุมอยู่ ในการเพาะปลา
ถ้าหากมีไข่เสียมากก็จะพบราเข้าเกาะกินไข่เสียเหล่านั้นก่อน และลุกลามไปทำลาย
ไข่ดีต่อไป ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที

การปัองกันและรักษา
1 . สำหรับปลาป่วยในโรงเพาะปักใช้มาลาได้ท์กรีน จำนวน 0.1- 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.
2. กรณีของปลาป่วยในบ่อดินมักพบต้นเหตุทื่ทำให้ปลาป่วยเป็นเชื้อรา เนื่องมาจากคุณภาพของน้ำในบ่อไม่ดี
    ให้ปรับด้วยปูนทวในอัตรา 60 กิโลกรัม/ไร่



                                                                  ที่มาจาก เอกสารแนะนำ กรมประมง พ.ศ.2539 การป้องกันและกำจัดโรคปลา